วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชนิดของคำไทย
ประเภทของคำ  แบ่งออกเป็น  7  ชนิด  คือ

1.  คำนาม คือ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และกิริยาอาการต่างๆ

คำนามในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

        1.สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ)หรือคำนามทั่วไป คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า

สามานยนามย่อย

รสทางวรรณคดีไทย 
                รสทางวรรณคดีที่ มีอยู่ ๔ ชนิด คือ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิไสย 
                ๑) เสาวรจนี (เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม) รสนี้เป็นการชมความงาม ชมโฉม พร่ำพรรณาแลบรรยายถึงความงามแห่งนาง ทั้งตามขนบกวีเก่าก่อนแลในแบบฉบับส่วนตัว ตัวอย่างเช่น
                                                ...หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย              ควรจะนับว่าชายโฉมยง 
                                                ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม                       เพริศพริ้มเพรารับกับขนง 
                                                เกศาปลายงอนงามทรง                      เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา... 
                จากบทข้างต้น เป็นการกล่าวชมรูปโฉมของวิหยาสะกำ ซึ่งถูกสังคามาระตาสังหาร กล่าวว่าวิหยาสะกำนั้น เป็นชายหนุ่มรูปงาม ฟันนั้นเป็นแสงแวววาวสีแดงราวกับแสงของทับทิม ซึ่งตัดรับกับคิ้ว รวมทั้งปลายเส้นผมซึ่งงอนงามขึ้นเป็นทรงสวยงาม รับกับทรวดทรงองค์เอวของวิหยาสะกำ 


กากีคำกลอน

เนื้อเรื่องย่อ

ท้าวพรหมทัตกษัตริย์แห่งนครพาราณสีแม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็มีพระมเหสีรูปงามกลิ่นกายหอมชื่อว่านางกากี พระองค์รักและหลงใหลนางกากี ไม่ให้มหาดเล็ก คนสนิทที่เป็นชายเข้าใกล้หรือได้เห็นนางยกเว้นที่จำเป็นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น หนึ่งในหนุ่มคนสนิทที่สามารถเข้าใกล้นางกากีได้คือ “นาฏกุเวร” ผู้เป็นคนธรรพ์รูปงามมีหน้าที่บรรเลงดนตรี แต่งกลอน ขับกล่อม ให้แก่ท้าวพรหมทัต ในยามที่พระองค์เล่นสกากีฬาโปรดปรานกับพระสหายสนิท ตามปกติคนธรรพ์เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาที่มีความสามารถสูง ยิ่งเป็นนาฏกุเวรผู้มีความเปรื่องปราชญ์ก็ยิ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางพระทัยของท้าวพรหมทัต นอกจากพระประยูรญาติที่ท้าวพรหมทัตโปรดให้เล่นสกาด้วยแล้ว พระองค์มีสหายสนิทผู้มีความลึกลับที่มีฝีมือการทอดสกาเทียบเท่าพระองค์นามว่าเวนไตย เวนไตยเป็นพญาครุฑที่มีวิมานชื่อฉิมพลี ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุเหนือดงงิ้ว ผู้มีร่างมาเป็นมานพรูปร่างสง่างามในเมืองมนุษย์ เวนไตยไม่ยอมบอกว่าตัวเองมาจากที่ไหน แต่ก็มาเล่นสกากับท้าวพรหมทัตอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เจ็ดวัน