วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชนิดของคำไทย
ประเภทของคำ  แบ่งออกเป็น  7  ชนิด  คือ

1.  คำนาม คือ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และกิริยาอาการต่างๆ

คำนามในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

        1.สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ)หรือคำนามทั่วไป คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า

สามานยนามย่อย



2.วิสามานยนาม (คำนามชี้เฉพาะ)หรือคำนามชี้เฉพาะ คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด
3.ลักษณนาม (คำนามแสดงลักษณะ)คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนามนั้นให้ชัดเจนขึ้น
          4.สมุหนาม (คำนามรวมหมู่)  คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของ
สามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ
5.อาการนาม (คำนามธรรม) คือ คำเรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาด จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า ข้อสังเกต คำว่า การ” และความ” ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือวิเศษณ์จะไม่นับว่าเป็นอาการนาม

หน้าที่ของคำนาม
.  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
.  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
.  ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนามอื่น
.  ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ
ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่หรือขยายกริยาให้มี
   เนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น
. ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน

2.  คำสรรพนาม
คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วเพื่อทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น
       ชนิดของคำสรรพนาม
            คำสรรพนามแบ่งได้ ชนิด คือ
               1. บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง แบ่งออกเป็น
                    บุรุษที่ 1ได้แก่ ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน เรา อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด
                    บุรุษที่ ได้แก่ เธอ ท่าน คุณ ใต้เท้า พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท แก เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย
                    บุรุษที่ ได้แก่ เขา พวกเขา มัน พระองค์ เป็นบุรุษสรรพนามที่เราพูดถึงหรือผูพูดกล่าวถึง
                2. ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ทำหน้าที่แทนคำนาม หรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า และยังทำหน้าที่เชื่อมประโยคโดยให้ประโยค ประโยคมีความเชื่อมกัน ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
                    บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงิน 100บาท
                    ผู้หญิงที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นย่าของผม
                    ไม้บรรทัดอันวางบนโต๊ะเป็นของเธอ  
                3. วิภาคสรรพนาม เป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำที่ ใช้แทนนามหรือสรรพนาม ที่แยกออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นคนๆ หรือพวก ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
                    นักกีฬาต่างดีใจที่ได้ชัยชนะ
                    เด็กนักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือ บ้างก็ร้องเพลง
                    พี่น้องคุยกัน        
4. นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทางให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
                       ี่เป็นกระเป๋าใบที่เธอให้ฉัน
                   โน่นเป็นเทือกเขาถนนธงชัย
                  นี่เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน
                 5. อนิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ เช่น
                  ใครจะไปกับคุณพ่อก็ได้
                  ผู้ใดเป็นคนชั่ว เราก็ไม่ไปคบค้าสมาคมด้วย                 
                  ไหนๆก็นอนได้
             6. ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้ถามที่ใช้แทนนามที่มีเรื้อความเป็นคำถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน ปฤจฉาสรรพนามต่างกับอนิยมสรรพนาม ก็คือ อนิยมสรรพนามใช้ในประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้ในประโยคคำถาม เช่น
                 ใครมาหาฉัน ?
                 อะไรอยู่ใต้โต๊ะ ?
                 ไหนเป็นบ้านของเธอ ?
    หน้าที่ของคำสรรพนาม สรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม ดังนี้
                1. ใช้เป็นประธานของประโยค เช่น
                       เขาไปกับคุณพ่อ
                       ใครอยู่ที่นั่น
                       ท่านไปกับผมหรือ
               2. ใช้เป็นกรรมของประโยค เช่น
                       แม่ดุฉัน 
                       เขาเอาอะไรมา
                       เด็กๆกินอะไรๆก็ได้
               3. เป็นผู้รับใช้ เช่น
                       คุณแม่ให้ฉันไปสวน
               4. เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น            
                       คุณเป็นใคร
               5. ใช้เชื่อมประโยค เช่น
           เขาพาฉันไปบ้านที่ฉันไม่เคยไป
           เขามีความคิดซึ่งไม่เหมือนใคร
                       คนี่ไปกับเธอเป็นน้องฉัน
              6. ใช้ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค  เพื่อเน้นความที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม
                      คุณครูท่านไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน
                      ฉันแวะไปเยี่ยมคุณครูท่านมา
        ข้อสังเกตการใช้คำสรรพนาม
        การใช้คำสรรพนาม มีข้อสังเกตดังนี้ คือ
                    1. บุรุษสรรพนามบางคำจะใช้เป็นบุรุษสรรพนามบุรุษที่ หรือ บุรุษที่ ก็ได้
                        ท่านมาหาใครครับ                               ( บุรุษที่ 2 )
                         เธอไปกับท่านหรือเปล่า                      ( บุรุษที่ 3 )
                         เธออยู่บ้านนะ                                     ( บุรุษที่ 2 )
                   2. บุรุษสรรพนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล วัยและเพศของบุคคล เช่น ผม ใช้กับผู้พูดเป็นชาย แสดงความสุภาพข้าพระพุทธเจ้า ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง เป็นต้น
                     3. คำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ในการสนทนา
                            ปุ๋ยมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ ( ปุ๋ยใช้แทนผู้พูด )

3. คำกริยา                               

   คำกริยา  คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค
   3.1 ชนิดของคำกริยา
         คำกริยาแบ่งได้ ชนิด คือ
1. อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
                               ฉันยืนแต่แม่นั่ง
                               ไก่ขัน แต่หมาเห่า
                               พื้นบ้านสกปรกมาก
                           คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น
                                ฉันสูงเท่าพ่อ
                                ดอกไม้ดอกนี้หอม
                                พื้นสะอาดมาก
2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
                               ฉันกินข้าว
                                แม่หิ้วถังน้ำ
                                พ่อขายของ    
                           กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
                     ให้  ฉันให้ดินสอน้อง   หมายถึง  ฉันให้ดินสอแก่น้อง
                      แจก       ครูแจกดินสอนักเรียน   หมายถึง  ครูแจกดินสอให้นักเรียน
                       ถวาย       ญาติโยมถวายอาหารพระภิกษุ  หมายถึง 
 ญาติโยมถวายอาหารแด่พระภิกษุ
                       ดินสอ   อาหาร  เป็นกรรมตรง
                       นักเรียน   พระภิกษุ  น้อง  เป็นกรรมรอง
3. วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น
                             นายสีเป็นพ่อค้าข้าว
                             เธอคล้ายฉัน
                             ทำได้เช่นนี้เป็นดีแน่
                         
 4. กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น
                                เขาย่อมไปที่นั่น
                                เขาถูกครูดุ
                                พ่อกำลังมา
                                น้องทำการบ้านแล้ว
                                ฉันต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้    
5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
                              นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี         ( ประธานของประโยค )
                               ฉันชอบไปเที่ยวกับเธอ                 ( เป็นบทกรรม )
                               ฉันมาเพื่อูเขา                           ( เป็นบทขยาย ) 3.2 หน้าที่ของคำกริยา
     1. คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
                                   ก. อยู่หลังประธาน เช่น เธอกินข้าว
                                   ข. อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
     2. คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
                                    - เด็กเร่ร่อนยืนร้องไห้                                 
                                       เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
                                    - ปลาตาย ไม่มีขายในตลาด
                                        ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
     3. คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือ
บทขยาย เช่น
                                    - อ่านหนังสือ ช่วยให้มีความรู้
                                       อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
                                    - แม่ไม่ชอบนอนดึก
                                       นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ

4.  คำวิเศษณ์
                คำวิเศษณ์  เป็นคำที่ใช้ขยายคำนาม  สรรพนาม   กริยา  หรือวิเศษณ์  เพื่อบอกเวลา  สถานที่  จำนวน  หรือลักษณะต่าง ๆ   คำวิเศษณ์จำแนกได้เป็น ๙  ชนิดดังนี้
          . คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์)  ได้แก่คำขยายที่บอกชนิด  ขนาด  สัณฐาน  สี กลิ่น  รส  สัมผัส  อาการ  ความรู้สึก   เช่น  เล็ก  ใหญ่  กลม  รี  แบน  ขาว  แดง  เหม็น  หอม  หวานเปรี้ยว  อ่อน  แข็ง  เร็ว  ช้า  ค่อย  แหบ  ดัง   เป็นต้น     ตัวอย่างเช่น
                   คนดีย่อมมีความกตัญญูต่อพ่อแม่
                   ม้าวิ่งเร็ว
                   เขาพูดเพราะ
                   ลมพัดแรง
          คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์)  เป็นคำขยายบอกเวลา ที่เกิดขึ้นแล้ว  หรือปัจจุบัน  เช่น  ก่อน  หลัง  เดี๋ยวนี้  ภายหลัง  หรือขยายบอกเวลาว่า  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  ค่ำ    ตัวอย่าง
                   เขามาโรงเรียนสาย
                   เราจะไปเดี๋ยวนี้
                   ฉันจะไปพบเธอเวลาเย็น
                   บริษัทจะส่งหนังสือมาภายหลัง
          คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์)  เป็นคำขยายแสดงที่อยู่หรือระยะที่ตั้งอยู่  เช่น  เหนือ  ใต้  ไกล  ใกล้    เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น
                   เขาอยู่ไกล
                   เด็กๆ จะไปบ้านนอก
                   หล่อนอยู่เหนือ
          คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)  เป็นคำประกอบบอกจำนวน หรือ จำนวนนับ  เช่น  มาก  น้อย  หนึ่ง  สอง  ที่ห้า  อันดับสิบ   เป็นต้น  ตัวอย่าง
                   เขากินข้าวหมด
                   คนงานกินจุ
                   นักเรียนจะมาพบห้าคน
                   คนทั้งหลายเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม
          คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์)  เป็นคำขยายบอกความแน่นอน  เช่น  นี่  นี้  นั่น  นั้น  โน่น  โน้น  เป็นต้น  ตัวอย่าง
                   ชายคนนั้นเป็นชาวไทย
                   เขาสอบตกแน่นอน
                   หล่อนต้องมาหาเราแน่
                   ฉันเองเป็นคนทำ
          คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)  เป็นคำประกอบที่แสดงความไม่แน่นอน  เช่น  อื่น  อื่นๆ  ใด  ใดๆ  อะไร  อะไรๆ  เป็นต้น  ตัวอย่าง
                   เด็กอะไรซนอย่างนี้
                   วิชาอื่นๆ ก็สู้วิชานี้ไม่ได้
                   ถึงจะแพงสักเท่าไร ฉันก็จะซื้อ
          คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์)  เป็นคำที่ใช้ถาม  เช่น  อะไร  ใคร  ไหน  ทำไม  แต่คำเหล่านี้จะตามหลังคำนาม  สรรพนาม หรือกริยา  ตัวอย่าง  คนไหนเป็นนักเรียนทุน
                   คนไข้มีอาการอย่างไร
                   เธออายุเท่าไหร่
          คำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์)  เป็นคำขานรับหรือคำประกอบใช้แสดงการขานรับ  เช่น  ค่ะ  ครับ  จ๊ะ  จ๋า  ฯลฯ    ตัวอย่าง
                   คุณครับ รถไฟจะออกแล้ว
                   คุณแม่ขา  โทรศัพท์ค่ะ
                   เธอจะไปไหนจ๊ะ
          คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์)  เป็นคำบอกห้าม หรือบอกปฏิเสธ  เช่น  ไม่  หาไม่  เปล่า  อย่า  เป็นต้น   ตัวอย่าง
                   เงินทองไม่ใช่ของหาง่าย
                   นักเรียนไม่ควรนั่งหลับในห้องเรียน
                   เธออย่าเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟังนะ
5. คำบุพบท
คำบุพบท คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
1. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
2. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
3. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
5. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน
หลักการใช้คำบุพบทบางคำ
กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา
"แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
"แด่" ใช้แทนตำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น นักเรียนมอบพวงมาลัยแด่อาจารย์
"แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามาแต่บ้าน
"ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล
         คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง
ครูทำงานเพื่อนักเรียน
เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
ชนิดของคำบุพบท   คำบุพบทแบ่งเป็น ชนิด
          1.คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้
บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ    ฉันซื้อสวนของนายฉลอง ( นามกับนาม )
บ้านของเขาใหญ่โตแท้ๆ ( นามกับสรรพนาม )
อะไรของเธออยู่ในถุงนี้ ( สรรพนามกับสรรพนาม )
บอกความเกี่ยวข้อง
เธอต้องการมะม่วงในจาน ( นามกับนาม )
พ่อเห็นแก่แม่ ( กริยากับนาม )
ฉันไปกับเขา ( กริยากับสรรพนาม )
บอกการให้และบอกความประสงค์
แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร ( นามกับกริยา )
พ่อให้รางวัลแก่ฉัน ( นามกับสรรพนาม )
บอกเวลา
เขามาตั้งแต่เช้า ( กริยากับนาม )
เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว ( นามกับนาม )
บอกสถานที่
เธอมาจากหัวเมือง ( กริยากับนาม )
บอกความเปรียบเทียบ
เขาหนักกว่าฉัน ( กริยากับนาม )
เขาสูงกว่าพ่อ ( กริยากับนาม )
         2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น
ดูกร  ดูก่อน  ดูรา  ช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้
ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท
1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
เขามุ่งหน้าสู่เรือน
ป้ากินข้าวด้วยมือ
ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูกของฉัน )
แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม
เขานั่งหน้า ใครมาก่อน
ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง
          ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้
1. นำหน้าคำนาม
เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา
เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
2. นำหน้าคำสรรพนาม
เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
3. นำหน้าคำกริยา
เขาเห็นแก่กิน
โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
4. นำหน้าคำวิเศษณ์
เขาวิ่งมาโดยเร็ว
เธอกล่าวโดยซื่อ

6.  คำสันธาน
คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย
หน้าที่ของคำสันธาน
      1.   เชื่อมคำกับคำ
    • ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
    • เธอชอบสีแดงหรือสีส้ม
      2.    เชื่อมข้อความกับข้อความ
    • การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
    • คนเราต้องการอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อสิ่งจำเป็นเหล่านี้
      3.    เชื่อมประโยคกับประโยค
    • พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
    • เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
      4.    เชื่อมความให้สละสลวย
    • คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
    • ฉันก็เป็นคนจริงคนหนึ่งเหมือนกัน
ชนิดของคำสันธาน
      1. เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ และ ทั้งและ ,ทั้งก็ ครั้นจึง พอก็ ฯลฯ
    • ภราดรและแทมมี่เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ
    • พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าฝูงนกก็บินกลับรัง
    • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งผู้กำกับและนักแสดงได้รับค่าตอบแทนสูง
      2.     เชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง ครั้นจึง พอก็ ฯลฯ
    • พอเขากล่าวปาฐกถาทุกคนก็ตั้งใจฟัง
    • ป่าไม้หมดไปโลกจึงเกิดความแห้งแล้ง
    • เขาพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เนื่องจากฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ
      3.   เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ ถึงก็ กว่าก็ แต่ทว่า แม้ก็ ฯลฯ
    • สังคมมุ่งพัฒนาด้านวัตถุแต่ด้านจิตใจขาดการสนใจ
    • ถึงฉันจะลำบาก ฉันก็ไม่ยอมทำชั่วเป็นอันขาด
    • แม้เขาจะมีร่างกายไม่แข็งแรง เขาก็มีจิตใจแข็งแกร่ง
     4.    เชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ หรือไม่ก็ ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้นก็ ไม่ก็ ฯลฯ
    • โรงเรียนในเมืองหรือในชนบทต้องการอาจารย์ผู้มีความรู้
    • ง่วงก็นอนเสียหรือไม่ก็ลุกขึ้นไปล้างหน้า
    • ไม่วันเสาร์ก็วันอาทิตย์เจนจะมาบ้านเรา
ข้อสังเกต
      1.   คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น ไม่ก็ กว่าก็ เพราะจึง ถึงก็ แม้ก็ เป็นต้น
      2.    คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆในประโยคก็ได้ เช่น
    • อยู่ระหว่างคำ : อีฟชอบสีม่วงและสีขาว
    • อยู่หลังคำ : คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
    • อยู่คร่อมคำ : ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
    • อยู่ระหว่างประโยค : ตูนจะดื่มน้ำส้มหรือดื่มนม
    • อยู่หลังประโยค : เราจะทำบุญก็ตาม บาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
    • อยู่คร่อมประโยค : แม้เต้จะกินมากแต่เต้ก็ไม่อ้วน
      3.    ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป
      4.    คำบางคำเป็นได้ทั้งคำสันธานและคำบุพบท เช่น คำว่า เมื่อ” ให้พิจารณาว่าถ้าสามารถแยกเป็น ประโยคได้ก็เป็นคำสันธาน เช่นเมื่อ 16 นาฬิกา อาร์ทได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำบุพบท ) เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง หมวยได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำสันธาน )
เป็นต้น
      5.    คำว่า ให้” เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้” เป็นต้น
      6.    คำว่า ว่า” เมื่อนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างพวกมิจฉาชีพครั้งใหญ่” เป็นต้น
      7.    คำประพันธสรรพนามหรือคำสรรพนามเชื่อมประโยค คือ คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน” จัดเป็นคำสันธานด้วย
    • สตรีผู้มีความงามย่อมเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    • คนที่กำลังเล่นกีตาร์นั่นเป็นพี่ชายของวี
    • ฝ้ายอยู่ในตลาดซึ่งมีคนพลุกพล่าน
7.  คำอุทาน
คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด
คำอุทานแบ่งเป็น ๒ จำพวก ดังนี้
๗.๑ อุทานบอกอาการคือ คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมา  เพื่อให้รู้จักอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด  เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย !(อัศเจรีย์)   กำกับไว้หลังคำนั้น  เช่น
ตัวอย่าง
๑. แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว   ได้แก่  แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
๒. แสดงอาการโกรธเคือง
  ได้แก่ เหม่ !,อุเหม่!,ฮึ่ม!,ชิชะ!,ดูดู๋!
๓.แสดงอาการตกใจ  ได้แก่ ว้าย!,ตาย !,ช่วยด้วย !,คุณพระช่วย!
๔.แสดงอาการประหลาดใจ ได้แก่ ฮ้า !,แหม!,โอ้โฮ!,แม่เจ้าโว้ย!
๕.แสดงอาการสงสารหรือปลอบโยน ได้แก่
 โถ!,โธ่!,อนิจจัง!,พุทโธ่!
๖.แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้
  เช่น อือ!,อ้อ!,เออ!,เออน่ะ!
๗.แสดงอาการเจ็บปวด
  เช่น อุ๊ย!,โอย!,โอ๊ย!
๘.แสดงอาการดีใจ เช่น ไชโย
!
๗.๒ คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง
แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ
๑.คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือ,หนังหา,ส้มสุกลูกไม้,กางกุ้งกางเกง ฯลฯ
๒.คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์  เพื่อให้เกิดความสละสลวยและให้มีคำครบถ้วนตามต้องการในคำประพันธ์นั้นๆ  คำอุทานชนิดนี้ใช้     เฉพาะในคำประพันธ์   ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา  เช่น  อ้า ,โอ้ ,โอ้ว่า,แล,นา,ฤา , แฮ, เอย ,เฮย ฯลฯ
หน้าที่ของคำอุทาน  มีดังนี้คือ
๑.  ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
ตัวอย่าง

ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา

โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ


เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
๒.  ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง

ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

เมื่อไรเธอจะหางหางานทำเสียที

เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
๓.  ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์
ตัวอย่าง

แมวเอ๋ยแมวเหมียว

มดเอ๋ยมดแดง

กอ เอ๋ย กอไก่ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น